ก่อนอื่นเรามาดูประเภทไมค์แบ่งออกได้ 2 อย่าง
1.1.ไมโครโฟนแบบไดนามิก (Dynamic Microphone )ใช้หลักการเคลื่อนเสียง ผ่านขดลวดไปสนามแม่เหล็กในการทำให้เกิดเคลื่อนเสียงตามย่านความถี่ต่างๆ
1.2.ไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone) ใช้หลักการ เคลื่อนเสียงกระทบ แผ่น Plate Diaphram 2 แผ่น ที่ประกบติดกัน ทำให้เกิดเคลื่อนเสียงตามย่านความถี่ต่างๆ มีความไวสูง แต่ต้องมีไฟเลี้ยงในการทำงาน แต่ก็มีเสียงรบกวนมากด้วยเช่นกัน ส่วนมากจะใช้สำหรับ เสียงร้อง งานด้านดนตรี
หลังจากที่เรารู้เกี่ยวกับประเภทของไมค์แล้ว ข้อต่อไปที่เราจะต้องมาดูซึ่งจะปรากฏอยู่ในสเปกของไมค์แทบทุกรุ่น
2.1. Frequency range(ย่านความถี่พาหะ) : เช่น คลื่นช่วงความถี่ UHF 790-890 MHz ถ้าช่วงความถี่ต่ำมากๆสัญญานก็อาจจะหลุดง่าย ย่านช่วงความถี่ในแต่ละประเทศกำหนดไม่เหมือนกัน
2.2. Frequency respons (ช่วงความถี่ที่ตอบสนอง) : ความถี่ที่มนุษย์เราได้ยินอยู่ระหว่าง 20Hz ถึง 20KHz เพื่อจะบอกว่าเราต้องการเสียงแบบไหนเวลาพูดหรือร้อง เช่นถ้าต้องการเสียงทุ้ม (เบส) ก็หาไมค์ที่ตอบสนองความถี่ต่ำ 45 หรือ 50 Hz ขึ้นไป ถ้าเป็นไมค์สำหรับพูดก็ใช้ความถี่ 80Hz-15Khz
2.3. impedance (ความต้านทาน):ยิ่งความต้านทานต่ำก็ยิ่งดี แต่ถ้าเป็นไมค์สายและใช้สายที่มีขนาดความยาม 10-20 เมตร ควรใช้ไมค์ที่มีอิมพิแดนซ์ต่ำ
การรับเสียงของไมโครโฟนจะมีผลกับการวางตำแหน่งของลำโพง เพื่อไม่ให้เกิดไมค์หอน (FEED BACK) นั้นเอง
3.1.ไมค์ที่รับเสียงจากด้านหน้าและด้านข้าง (Cardioid directional Microphones)
3.2.ไมค์ที่รับเสียงเฉพาะด้านหน้า (Unidirectional Microphones)
3.3.ไมค์ที่รับเสียงดีจากด้านหน้าและด้านหลัง (Bidirectional Microphones)
3.3.1 ไมค์ที่รับเสียงดีจากด้านหน้าและรับเสียงจากด้านหลังได้เล็กน้อย (Supercardioid)
3.3.2 ไมค์ที่รับเสียงดีจากด้านหน้าและรับเสียงจากด้านหลังได้เล็กน้อย (Hypercardioid)
ข้อแตกต่างระว่าง Supercardioidกับ Hypercardioid
Hypercardioid รัศมีการรับเสียงจากด้านหน้าจะน้อยกว่า Supercardioidแต่ รัศมีการรับเสียงจากด้านหลังจะเยอะกว่า (แค่นี้แหละ)
ไม่เข้าใจก็ดูจากภาพน่าจะดีกว่านะครับ
ครั้งต่อไปในการซื้อไมค์โครโฟนมาใช้งาน และดูจากสเปกของไมค์ในรุ่นที่เราสนใจ คงน่าจะพอให้เขาใจมากขึ้น และเลือกซื้อได้อย่างถูกใจ